แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียน ผ่านสารคดี “Dan’s way”

“ทุกอย่างเพื่อสิ่งดีงาม”

            “มองโลกจากมุมมองของชาวจีน ใช้ภาษาสากลถ่ายทอดเรื่องราวของโลก“เติมเต็มชีวิตด้วยการเดินทาง” สองวรรคข้างต้นถูกพิมพ์ลงบนหน้าปกโบรชัวร์สารคดีเรื่อง Dan’s Wayสารคดีฟอร์มยักษ์นี้ ร่วมสร้างโดย China Central Fund of News Documentary Film ที่ปรึกษา Beijing Eleven Media Co.,Ltd. และจูตัน พิธีกรชื่อดัง ผสมผสานวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน มุ่งเน้นไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน ในขณะที่สะท้อนและถ่ายทอดความงดงามของทัศนียภาพทางธรรมชาติ ยังโฟกัส “ตัวละคร” ของแต่ละประเทศที่ธรรมดาแต่โดดเด่น บอกเล่าเรื่องราวชีวิตที่แท้จริง ถ่ายทอดความดีงามของประชาชน วัฒนธรรม และคุณค่าของกลุ่มประเทศอาเซียน

            สำหรับ Dan’s Wayซีซั่นแรก เลือกโลเคชั่นเป็น อินโดนีเซีย ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มอาเซียน เพื่อถ่ายทอดและสะท้อนมนต์เสน่ห์แห่งอินโดนีเซีย ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวของชาวอินโดนีเซีย จำนวน 10 คนที่มีคาแร็กเตอร์โดดเด่นมากที่สุดมาถ่ายทำ อาทิ เจ้าหน้าที่เปลี่ยนชุดในมัสยิด ลูกสาวของคนงานเหมืองกำมะถัน  และผู้สืบทอดระบำเลกอง ฯลฯ โดยหลู ซีต๋า ช่างภาพจากประเทศอินโดนีเซีย ผู้สูญเสียแขนทั้งสองข้าง เป็น 1 ใน 10 คนดังกล่าว

 

           “เจตนารมณ์แรกเริ่มในการทำสารคดีเรื่องนี้ ความจริงแล้ว ‘ทุกอย่างเพื่อสิ่งดีงาม’ พบเจอสิ่งดีงาม และถ่ายทอดสิ่งดีงาม โดยไม่แบ่งแยกภูมิภาคและพรมแดน”ซูหมิง โปรดิวเซอร์ Beijing Eleven Media Co.,Ltd. กล่าว

           จากรายงาน หนังเรื่องนี้จะออกอากาศครั้งแรกที่ www.ixigua.com ในวันที่ 21 ตุลาคม 2561 ขณะเดียวกัน จะออกอากาศใน 10 แพลตฟอร์ม ทั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV) สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และสื่อใหม่ ฯลฯ

           “คาดกันว่า ยอดวิวรายการนี้ในจีนจะมีมากกว่า 1 พันล้านครั้ง นั่นหมายความว่า อย่างน้อยจะมีผู้ชมจำนวน 100 ล้านคนขึ้นไปได้ดูรายการนี้ และรายการนี้จะช่วยให้ผู้ชมชาวจีนนับร้อยล้านคน เกิดความเข้าใจ ความประทับใจ รวมถึงชื่นชอบอินโดนีเซียมากยิ่งขึ้น เพราะความชื่นชอบนี้ จะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนอันดี นี่คือสิ่งที่เราอยากเห็น ‘ทุกอย่างเพื่อสิ่งดีงาม’ เราหวังว่าสิ่งดีงามนี้จะมีต่อไป และถ่ายทำจนครบทั้ง 10 ประเทศอาเซียน” ซูหมิงกล่าว

 

คำบอกเล่าจากพิธีกร

           จูตันกล่าวว่า เรื่องราวของ Raka Rasmi ผู้สืบทอดระบำเลกอง ทำให้เธอประทับใจมากที่สุด เพราะระหว่างถ่ายทำอาการป่วยของ Raka Rasmi กำเริบ แต่เมื่ออยู่หน้ากล้องเธอกลับทำออกมาได้ดี

           ในบรรดาชาวอินโดนีเซียจำนวน 10 คน ระหว่างถ่ายทำ เพื่อนๆ 10 คน ทำให้ฉันได้รู้จักประเทศอินโดนีเซียที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ฉันจึงยืนกรานความคิดที่ว่าจะบันทึกเรื่องราวของตัวละครและวัฒนธรรมชนเผ่าด้วยวิดีโอและภาพถ่าย เพื่อถ่ายทอดสู่สายตาทุกคน” จูตันกล่าว

           ในฐานะที่เป็นคนนำเรื่อง จูตันกล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่เลือกอินโดนีเซีย เพราะที่นี่เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักเดินทางชื่นชอบมากที่สุด วัฒนธรรมของทวีปเอเชียที่คุ้นเคย แต่ทว่า “ไม่ตั้งใจปักกิ่งหลิว ต้นหลิวกลับให้ร่มเงา” (บางเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจทำเท่าไหร่ กลับได้ผลตอบแทนเกินคาดหมาย) การเข้าสู่ประเทศอินโดนีเซีย กลายเป็นโอกาสดีที่พวกเขาจะได้เข้าสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ตอนนี้อีก 9 ประเทศอาเซียน กำลังจะเข้าสู่การพิจารณารายชื่อสถานที่ถ่ายทำ

            “ในทางประวัติศาสตร์ จีน-อาเซียนมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมมากมาย กล่าวได้ว่า การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร ทุกวันนี้เราจะเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างไร ควรถูกหยิบยกเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ ปัจจุบันในด้านการเจรจาทางการเมืองระหว่างจีน-อาเซียน ได้สร้างรากฐานที่ดี เราหวังว่า บนพื้นฐานนี้จะสามารถเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไปอีกขั้น ตอนนี้การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่คนรุ่นใหม่อย่างเรากำลังส่งเสริมนั้น ฉันคิดว่ามันเทียบเท่ากับการลงทุนเพื่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในอนาคต” ซ่า ว่อนว่อ ตัวแทนอินโดนีเซียประจำอาเซียนกล่าว

สร้าง “เสาเอกต้นที่ 3” แห่งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

            สารคดีเรื่อง “Dan’s Way” มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีน-อาเซียน จึงกล่าวได้ว่าเป็นแบบอย่างของความร่วมมือที่หลายฝ่ายช่วยกันสนับสนุน “เชื่อว่าการถ่ายทอดเรื่องราวด้วยมุมมองใหม่ๆ จะช่วยให้ผู้ชมส่วนใหญ่มีความเข้าใจต่อวัฒนธรรมอาเซียน และพหุวัฒนธรรมไปอีกขั้น หวังว่าต่อจากนี้ จะได้เห็นผลงานยอดเยี่ยมแบบนี้เยอะๆ” เฉิน เสี่ยวตง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าว   

            “เรื่อง “Dan’s Way” ร่วมสร้างโดยธุรกิจเอกชนจีนและพิธีกร แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของพลังสังคมในด้านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียน เรื่องนี้เป็นเสมือนหน้าต่างบานใหม่ให้ผู้ชมชาวจีนเข้าใจประเทศอินโดนีเซียมากยิ่งขึ้น มีส่วนช่วยให้ประชาชนของทั้งสองฝ่ายมีจิตใจฮึกเหิม และมีอารมณ์ร่วมไปกับหนัง ขณะเดียวกัน ยังเป็นการเปิดประตูสู่การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เราหวังว่ารายการนี้จะเข้าถึงอีก 9 ประเทศอาเซียน เข้าถึงนับพันนับหมื่นครัวเรือน จนกลายเป็นดั่งผู้เผยแพร่มิตรภาพระหว่างจีน-อาเซียนในยุคใหม่” หวง ซีเหลียน เอกอัครราชทูตจีนประจำอาเซียนกล่าว

            เมื่อปี 2560 ในการประชุมผู้นำจีน-อาเซียนครั้งที่ 20 หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ได้เสนอ “กรอบความร่วมมือ 3+X” พร้อมระบุว่าต้องสร้าง “เสาเอกต้นที่ 3” แห่งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม อันเป็นการวางรากฐานสำคัญของสัมพันธภาพอันดีระหว่างประชาชนทั้งสองฝ่าย และได้รับการตอบรับอย่างดีจากฝ่ายอาเซียน

            “ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างจีน-อาเซียน กำลังก้าวเข้าสู่ขั้นตอนใหม่ของการยกระดับ ในยุคใหม่ของความสัมพันธ์จีน-อาเซียน บทบาทการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมมีความโดดเด่นยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายต้องกระชับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีน-อาเซียนอย่างต่อเนื่อง อันเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงของเสาเอกต้นที่ 3 ผลักดันประชาคมร่วมทุกข์ร่วมสุขให้ตราตรึงในจิตใจของผู้คนยิ่งขึ้น และเติมพลังใหม่ให้แก่การพัฒนาความสัมพันธ์จีน-อาเซียนอย่างต่อเนื่อง โดยในอนาคตจีน-อาเซียนควรดำเนินหลายมาตรการควบคู่กัน เพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีน-อาเซียน” หวง ซีเหลียน เอกอัครราชทูตจีนประจำอาเซียนกล่าว

            ประการแรก เสริมสร้างการเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ “One Belt One Road” กับพิมพ์เขียวประชาคมวัฒนธรรม และสังคมอาเซียน ปฏิบัติตามสาระสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ในแผนปฏิบัติการฉบับที่ 3 จีน-อาเซียน และวิสัยทัศน์ความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์จีน-อาเซียนปี 2030 พร้อมทั้งมุ่งมั่นขยายขอบเขตใหม่ของความร่วมมือ        

            ประการสอง ขยายแพลตฟอร์มความร่วมมือ ใช้ประโยชน์จากแบรนด์และกลไกต่างๆ อย่างเต็มที่ เช่น งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน สัปดาห์แลกเปลี่ยนด้านการศึกษาจีน-อาเซียน และศูนย์จีน-อาเซียน เป็นต้น ทำให้การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นไปอย่างมีระบบ และได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย

            ประการสาม สร้างไฮไลต์ความร่วมมือ ริเริ่มโครงการด้านแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม กำหนดให้ปีแห่งความร่วมมือสื่อมวลชนจีน-อาเซียนในปี 2562 เป็นโอกาส ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของสื่ออย่างเต็มที่ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในด้านต่างๆ   

ประการสี่ เชิญชวนให้ภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วม โดยเฉพาะระดมพลังชุมชน จนกลายเป็นกำลังสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

Your email address will not be published. Required fields are marked *