เมืองฉงจั่ว มณฑลกวางสี ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน โดยมีพรมแดนติดกับประเทศเวียดนาม เป็นเมืองเชื่อมต่อที่สำคัญทางตอนใต้ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt One Road นิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) มีพื้นที่ 100 ตารางกิโลเมตร เป็นนิคมฯ ที่มณฑลกวางสีให้ความสำคัญต่อการพัฒนา ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเข้าร่วมยุทธศาสตร์ One Belt One Road และกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ-การค้าระหว่างจีน-อาเซียน ทั้งยังเป็นที่ตั้งของเขตสาธิตความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างประเทศ เขตความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างช่องแคบไต้หวัน โซนศูนย์กลางของนิคมอุตสาหกรรมน้ำตาลกวางสี-จีน และเขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคเมืองฉงจั่ว ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) นิคมอุตสาหกรรมระยอง (ไทย-จีน) เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร นิคมอุตสาหกรรมสยามอีสเทิร์น เขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง รวมตัวกันเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมพี่น้อง โดยก่อตัวเป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีชื่อว่า “2 ประเทศหลายนิคม”
นิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก และทิศเหนือของเมืองฉงจั่ว มีข้อได้เปรียบต่างๆ ทั้งติดชายแดน ใกล้ทะเล ติดเมืองเอก และเชื่อมต่อกับอาเซียน ห่างจากกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม 240 กิโลเมตร จังหวัดกรุงเทพฯ ประเทศไทย 1,700 กิโลเมตร ท่าเรือชินโจว 130 กิโลเมตร ฮ่องกง 800 กิโลเมตร นครหนานหนิง 70 กิโลเมตร ได้รับการขนานนามว่า “เปิดประตูก็คือเวียดนาม เดินสองก้าวก็ถึงอาเซียน” เป็น “เส้นทางสายทองคำ” ในช่องทางบกที่จีนใช้เชื่อมต่อกับอาเซียน
ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มใหม่ของความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างประเทศ ทั้งด้านทางหลวง ทางรถไฟ ทางน้ำ และทางอากาศ ต่างมีจุดแข็งที่ดีเลิศ สำหรับทางหลวง มีทางด่วนสายต่างๆ เช่น ทางด่วนสายนครหนานหนิง-ด่านโหย่วอี้กวน ทางด่วนสายชินโจว-ฉงจั่ว ทางด่วนสายฉงจั่ว-จิ้งซี ทางรถไฟ มีเส้นทางมอสโก-ปักกิ่ง-ฮานอย รวมถึงรถไฟความเร็วสูงที่กำลังเริ่มก่อสร้างแล่นผ่านนิคมฯ ทางน้ำ มีแม่น้ำจั่วเจียงไหลผ่าน ทำให้สามารถเชื่อมต่อถึงเวียดนาม กวางโจว และฮ่องกง ทางอากาศ นิคมฯ ห่างจากสนามบินนานาชาติอู๋ซวีนครหนานหนิง 70 กิโลเมตร
อาศัยเครือข่ายคมนาคมที่สะดวกและรวดเร็ว ทำให้นิคมฯ สามารถกระจายสินค้าไปยังตลาดตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ที่มีจำนวนประชากร 300 ล้านคน และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ของอาเซียน และตลาดที่มีจำนวนประชากรราว 600 ล้านคน
นิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) ใช้แผนพัฒนาที่ดีมาชี้นำการพัฒนาของอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ และสร้าง 6 ฐานอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ากว่าพันล้านหยวน ได้แก่ อาหารอาเซียน พลังงานใหม่ วัสดุรูปแบบใหม่ น้ำตาลอ้อยหมุนเวียน เฟอร์นิเจอร์ บริการท่องเที่ยวและการพักอาศัยสไตล์ไทย
นโยบายสิทธิประโยชน์ของนิคมฯ
- ด้านที่ดิน ที่ดินที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรม มีสิทธิ์ใช้ 50 ปี ราคาที่ดินประมาณ 1.2 แสนหยวน/ไร่จีน โดยรัฐบาลเมืองฉงจั่วจะมอบเงินอุดหนุน 38% ของราคาที่ดินที่แท้จริงให้แก่ธุรกิจในนิคมฯ เพื่อใช้สำหรับการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งช่วยลดต้นทุนต่ำสุดถึง 66,000 หยวน/ไร่จีน (พื้นที่ตะวันออกของจีนสูงถึง 2 ล้านหยวน/ไร่จีน)
หมายเหตุ: (1 ไร่จีน = 2.4 ไร่ไทย) - สนับสนุนการลงทุนในโครงการอุตสาหกรรม โดยให้การสนับสนุนตามสภาพเงินลงทุนที่แท้จริงของโครงการ สูงสุด 5 ล้านหยวน
- สนับสนุนการสร้างโรงงานมาตรฐาน โรงงานที่สอดคล้องกับเงื่อนไข จะได้รับการสนับสนุนในด้านการก่อสร้างสูงสุด 250 หยวน/ตารางเมตร
- สิทธิประโยชน์ด้านการเช่าโรงงาน ระยะการเช่าโรงงานมากกว่า 5 ปี ในช่วง 5 ปีแรก จะได้รับการยกเว้นค่าเช่า 3 ปี ส่วน 2 ปีหลังจะได้รับการลดค่าเช่าครึ่งหนึ่ง
- นโยบายด้านภาษีเงินได้ โครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย จะได้รับสิทธิพิเศษในการลดหย่อน กำหนดไว้ในอัตราต่ำสุดถึง 9% (มาตรฐานของประเทศจีนอยู่ที่ 25%)
- นโยบายด้านแรงงาน นิคมฯ สามารถรับแรงงานเวียดนามได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งช่วยลดต้นทุนด้านแรงงานให้แก่ธุรกิจในนิคมฯ