นิคมฯ ฉงจั่ว (ไทย-จีน) มุ่งสร้าง “ธุรกิจความหวาน”

นิคมอุตสาหกรรมน้ำตาลกวางสี-จีน ที่ตั้งอยู่ในเมืองฉงจั่ว เป็นเขตนิคมฯ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งแรกของจีน สร้างขึ้นตามโมเดล “One park, Three zones” ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) เป็นหนึ่งในโซนศูนย์กลาง

1.แผนงานของโซนศูนย์กลาง

บนพื้นฐานของทรัพยากรท่าเรือและฐานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) วางแผนใช้พื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งเป็น 6 โซน ได้แก่ โซนแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำตาลเชิงลึก โซนอุตสาหกรรมน้ำตาลปลายน้ำ และโซนผลิตวัตถุดิบเสริม โซนแปรรูปอาหารอาเซียน โซนคลังสินค้าและโลจิสติกส์ โซนไชน่าทาวน์ และศูนย์ Big Data อุตสาหกรรมน้ำตาลจีน

2.ข้อได้เปรียบของโซนศูนย์กลาง

(1) ทรัพยากรน้ำตาลอ้อยอุดมสมบูรณ์ ให้แหล่งวัตถุดิบที่เพียงพอสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาล

เมืองฉงจั่ว เป็น “เมืองแห่งน้ำตาลของจีน” อุตสาหกรรมน้ำตาล เป็นอุตสาหกรรมเสาหลักอันดับหนึ่งของเมืองฉงจั่ว บริเวณรอบๆ โซนศูนย์กลาง มีพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 1.25 ล้านไร่ ปริมาณการผลิตอ้อยอยู่ที่ประมาณ 18 ล้านตันต่อปี ส่วนปริมาณผลิตน้ำตาลต่อปี ครองสัดส่วน 1 ใน 3 ของกวางสี และ 1 ใน 5 ของทั้งประเทศ 14 ฤดูกาลผลิต จัดอยู่ในอันดับแรกของประเทศติดต่อกัน เป็นฐานการผลิตและแปรรูปน้ำตาลอ้อยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

(2) รากฐานอุตสาหกรรมแข็งแกร่ง ก่อตัวเป็นกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรม

ภายในโซนศูนย์กลาง มีโรงงานน้ำตาลต่างๆ เช่น COFCO TUNHE และGuangxi Chongzuo East Asia Sugar Co., Ltd. เป็นต้น สามารถคั้นอ้อยได้มากกว่า 30,000 ตันต่อวัน และผลิตน้ำตาลได้มากกว่า 9 แสนตันต่อปี โรงงานน้ำตาลอื่นๆ กระจายอยู่ในรัศมี 80 กิโลเมตรรอบๆ โซนศูนย์กลาง ข้อได้เปรียบของ “เมืองแห่งน้ำตาล” มีความโดดเด่น อุตสาหกรรมน้ำตาลขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ให้รากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมน้ำตาลจีน ดึงดูดธุรกิจต่างๆ เช่น Angel Yeast Co., Ltd และน้ำส้มสายชูหมักจากอ้อยแบรนด์ Hao Qing Chun เป็นต้น กลายเป็นห่วงโซ่อุตสาหกรรมน้ำตาลหมุนเวียน

3. โครงการเชิญชวนผู้ประกอบการ

โซนศูนย์กลางจะดำเนินการจัดตั้งโครงการ 7 ประเภท โดยอาศัยข้อได้เปรียบด้านต่างๆ

1.โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำตาลเชิงลึก ประกอบด้วยน้ำตาลทรายแดงแบบบำรุงสุขภาพ น้ำตาลปรุงรส น้ำตาลอะราบิโนส น้ำตาลกรวด น้ำตาลกลูโคสที่ใช้ทางการแพทย์ เป็นต้น

2.โครงการน้ำตาลอ้อยหมุนเวียน ประกอบด้วยไซลิทอล อุปกรณ์ทำความสะอาดจากวัสดุชานอ้อย อาหารสัตว์ออแกนิกและแครกเกอร์ไฟเบอร์สูง เป็นต้น สร้างอุตสาหกรรมแปรรูปวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตน้ำตาลและยังพัฒนาโครงการอื่นๆ เช่น การพิมพ์ และการบรรจุหีบห่อ เป็นต้น

 

3.อาศัยผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งนำเข้าจากท่าเรือฉงจั่ว เช่น ถั่วเปลือกแข็ง และผลไม้ เป็นต้น จัดตั้งโครงการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เช่น ลูกกวาด แครกเกอร์ ผลไม้เชื่อม หมากฝรั่งและโค้ก เป็นต้น

4.อาศัยตลาดกวางสีและตลาดอาเซียน จัดตั้งโครงการผลิตเครื่องจักรสำหรับการทำไร่อ้อย

5.โครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทัศนียภาพทางธรรมชาติที่สวยงาม ประเพณีวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสิ่งแวดล้อมของเมืองฉงจั่ว สร้างฟาร์มแบบครบวงจร ที่รวมการเพาะปลูกด้วยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ การท่องเที่ยว อาหาร และการสร้างประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน

6.อาศัยวัฒนธรรมการผลิตน้ำตาลอ้อยแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ของชนเผ่าจ้วงในเมืองฉงจั่ว ประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ เป็นต้น จัดตั้งโครงการหมู่บ้านไร่อ้อย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ไชน่าทาวน์” ประกอบด้วย ถนนธุรกิจ ในคอนเซ็ปต์ “วัฒนธรรมน้ำตาล” โรงงานน้ำตาลอ้อยและน้ำตาลทรายแดงแบบดั้งเดิมของชนเผ่าจ้วง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากน้ำตาลอ้อย สถาบันวิจัยอุตสาหกรรมน้ำตาลและพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมน้ำตาล เป็นต้น

7.สร้างแพลตฟอร์มการซื้อขายในอุตสาหกรรมน้ำตาลจีน และศูนย์ Big Data อาศัยข้อได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคม สร้างคลังสินค้าที่มีพื้นที่จัดเก็บ 1 ล้านตัน จัดตั้งโครงการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันยังอาศัยโรงงานน้ำตาลละแวกเขตนิคมอุตสาหกรรม และทรัพยากรน้ำตาลอ้อยที่อุดมสมบูรณ์ สร้างแพลตฟอร์ม Big Data มาตรฐานระดับสูง บรรลุการดำเนินธุรกิจและบริการอย่างชาญฉลาด ทั้งการเพาะปลูก การผลิต การซื้อขาย การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสร้างระบบอุตสาหกรรมน้ำตาลแบบครบวงจร

การสร้างนิคมอุตสาหกรรมน้ำตาลกวางสี-จีน มีบทบาทสำคัญต่อรูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลสมัยใหม่ การพัฒนาส่งเสริมเเละยกระดับอุตสาหกรรมน้ำตาล เอื้อประโยชน์ต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบและยกระดับของอุตสาหกรรมน้ำตาล สร้างแพลตฟอร์มรวมกลุ่มอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ สร้างโอกาสและเพิ่มแรงผลักดันใหม่ให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมน้ำตาลในฉงจั่ว คาดการณ์ว่า ปี 2573 มูลค่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมจะทะลุแสนล้าน กลายเป็นโมเดลการพัฒนา “การพัฒนาเมืองด้วยอุตสาหกรรม” และกลายเป็นเมืองแห่งความหวานในที่สุด

Your email address will not be published. Required fields are marked *