เขตนิคมฯ ใช้ทรัพยากรทางการเกษตร สินแร่ และป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ของเมืองฉงจั่ว เป็นเครื่องมือในการให้หลักประกันด้านทรัพยากรคุณภาพที่ดีเยี่ยมแก่อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลอ้อยแบบหมุนเวียน อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมผลิตผลจากป่า
นิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) พัฒนาไปพร้อมๆ กับเขตเมืองฉงจั่ว ตั้งอยู่ในจุดเชื่อมต่อระหว่างทางหลวงกับทางรถไฟที่สำคัญ ห่างจากนครหนานหนิง เมืองเอกของมณฑลกวางสีเพียง 116 กิโลเมตร อยู่ใกล้กับท่าเรือนานาชาติอ่าวตังเกี๋ย และสนามบินนานาชาติอู๋ซวี กลายเป็นเครือข่ายคมนาคมออกสู่ทะเลและชายแดนที่สะดวก ซึ่งข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทั้งอยู่ตามแนวชายแดน ริมฝั่งแม่น้ำ และใกล้กับเมืองเอก เครือข่ายคมนาคมที่สะดวกและรวดเร็ว ทำให้สินค้าของนิคมฯ กระจายไปยังตลาดภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่มีจำนวนประชากร 300 ล้านคน และทางนิคมฯ ยังพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ของอาเซียน และตลาดที่มีจำนวนประชากรเกือบ 600 ล้านคน นับว่ามีจุดแข็งทางการตลาดชัดเจนมากทีเดียว
การที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบด้านทรัพยากรมาเพิ่มมูลค่าสินค้า เป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองฉงจั่วมาโดยตลอด เช่น การผลิตน้ำตาลอ้อย เนื่องจากเทคโนโลยีมีข้อจำกัด กรรมวิธีการผลิตน้ำตาลค่อนข้างล้าสมัย ถึงแม้ว่าปริมาณการผลิตน้ำตาลอ้อยตลอดทั้งปีของเมืองฉงจั่ว จะครองสัดส่วน 1/5 ของทั้งประเทศ แต่ส่วนใหญ่สินค้าเป็นน้ำตาลทรายขั้นต้น สินค้ามีรูปแบบเดียว และมีคุณภาพไม่สูง แต่หลังจากนิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) ก่อตั้งขึ้นมา ได้ผสมผสานการพัฒนาเทคโนโลยีกับเศรษฐกิจที่แท้จริง (real economy) เข้าด้วยกัน กลายเป็นห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลอ้อยแบบหมุนเวียนที่สมบูรณ์แบบ การผลิตน้ำตาลอ้อยของเมืองฉงจั่ว ก่อตัวเป็น Organic Cycle รูปแบบต่างๆ เช่น “อ้อย-การผลิตน้ำตาล-ยีสต์-กระดาษห่อของที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม-ปุ๋ย”
วันที่ 28 กรกฎาคม 2560 พิธีเปิดศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคฉงจั่วและพิธีเปิดงานการก่อสร้างศูนย์บ่มเพาะธุรกิจจัดขึ้นในนิคมฯ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการดึงดูดธุรกิจที่คิดค้นนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบุคลากรทักษะสูง ซึ่งที่ผ่านมาเมืองฉงจั่วมุ่งมั่นในการสร้างศูนย์บุคลากรทักษะสูง ดึงดูดบุคลากรทักษะสูงของไทย อาเซียน และจีน เข้าสู่นิคมฯ ด้วยการสร้างกลไกและนโยบายที่สมบูรณ์แบบเพื่อดำเนินการสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างศูนย์รวบรวมเงินทุน โดยใช้ทุนรัฐบาลเป็นหลัก สร้างแพลตฟอร์มจัดหาเงินทุน และสร้างโครงการจำนวนมากโดยอาศัยแพลตฟอร์มดังกล่าว ปัจจุบันได้ดึงดูดประเทศสมาชิกอาเซียนต่างๆ เข้ามาลงทุน เช่น ไทย เวียดนาม มาเลเซีย ฯลฯ รวมถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ที่ได้รับงบประมาณสูง เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน กวางตุ้ง และเซี่ยงไฮ้ ฯลฯ สนับสนุนให้นิคมฯ กลายเป็นเขตสาธิตนโนบาย “ลองก่อน ปฏิบัติก่อน” สำหรับความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างประเทศ
จนถึงวันที่ 26 เมษายน 2560 มีธุรกิจจำนวน 112 รายเข้าไปลงทุนในเขตนิคมฯ การดึงดูดการลงทุนโดดเด่นขึ้นทุกวัน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 มูลค่าการผลิตอยู่ที่ 3,020 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 53.6% มูลค่าเพิ่ม 970 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 49.9% การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 1,580 ล้านหยวน หนึ่งในนั้น การลงทุนในโครงการอุตสาหกรรมอยู่ที่ 600 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 800%
ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนสำคัญในกรอบยุทธศาสตร์ “One Belt One Road” ถูกเรียกขานว่า “สยามเมืองยิ้ม” และ “ดินแดนแห่งเสรีภาพ” เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เรายังนำประเพณีไทยอันงดงามมาผสมผสานเข้ากับการก่อสร้างเขตนิคมฯ และรับเอาปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่มีลักษณะพิเศษของไทย เช่น ประเพณี อาหาร และการบำรุงสุขภาพ เป็นต้น กลายเป็นบานหน้าต่างที่สะท้อนประเพณีไทย ให้บริการต่างๆ สำหรับการแลกเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมระหว่างจีน-อาเซียน เช่น ธุรกิจ การประชุมและนิทรรศการ เป็นต้น เป็นการสร้างศูนย์ธุรกิจที่น่าอยู่ น่าลงทุน และน่าเที่ยว
หลายปีมานี้เมืองฉงจั่ว มณฑลกวางสี พยายามกระชับการติดต่อในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายไทยให้มากยิ่งขึ้น ที่ตั้งของเขตนิคมฯ มีผลิตผลที่อุดมสมบูรณ์ และทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีลักษณะพิเศษ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เมืองฉงจั่วและนิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) เป็นจุดเชื่อมโยงของระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทรอินโดจีน มีจุดแข็งด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ดีเลิศ ทั้งสองฝ่ายมีฐานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ-การค้าที่ดี
ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) นิคมอุตสาหกรรมระยอง (ไทย-จีน) เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร และนิคมอุตสาหกรรมสยามอีสเทิร์น รวมตัวกันเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมพี่น้อง โดยก่อตัวเป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีชื่อว่า “2 ประเทศ 4 นิคมอุตสาหกรรม” สร้างแพลตฟอร์มสำหรับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ-การค้าข้ามพรมแดนระหว่างสองประเทศ ผลักดันความร่วมมือในด้านต่างๆ ทั้งยังมีบทบาทในการส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ