“การท่องเที่ยว กลายเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ One Belt One Road”
การท่องเที่ยวต่างประเทศ กลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตผู้คนในปัจจุบัน ชาวจีนยังคงหลงใหล “หนานหยาง” หรือ“ทะเลใต้” จากสถิติแสดงให้เห็นว่า การจัดอันดับ 10 ประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวจีนใช้จ่ายสูงสุดในปี 2559 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ซึ่งอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซียก็ติดอันดับเช่นกัน โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนติด 4 ใน 10 อันดับ
จากการผลักดันยุทธศาสตร์ “One Belt One Road” อย่างต่อเนื่อง การผสานระหว่างการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ-การค้า ไม่เคยได้รับความสนใจดังเช่นปัจจุบันมาก่อน
งานไชน่า-อาเซียนเอ็กซ์โป ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 กันยายน 2560 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ร่วมสร้างเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 การท่องเที่ยวช่วยผลักดันการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค” งานเอ็กซ์โปในครั้งนี้ ใช้ความร่วมมือด้านท่องเที่ยวระหว่างไทย-จีนเป็นโอกาส ใช้ความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเป็นจุดสำคัญ ผลักดันการยกระดับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน สนับสนุนการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ให้มีการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น
การท่องเที่ยว กลายเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “One Belt One Road” หลี่ จินจ่าว ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวเเห่งประเทศจีนกล่าวว่า จากการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างจีนและประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง การเดินทางมาอาเซียนแบบนึกจะไปก็ไป จึงไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป ใช้ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเป็นโอกาส ประสิทธิผลในการกระชับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และผลักดันการบูรณาการทางเศรษฐกิจ ก็จะโดดเด่นมากขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบันเที่ยวบินที่เชื่อมจีนและอาเซียนมีกว่า 1,000 เที่ยวต่อสัปดาห์ ไตรมาสแรกของปี 2560 มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางมาเยือนกัมพูชามากที่สุด เดือนกรกฎาคม ปี 2560 เวียดนามต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนมากกว่า 4 แสนราย ประเทศจีนกลายเป็นตลาดท่องเที่ยวรายใหญ่สุดของเวียดนาม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทยคาดว่า ทั้งปี 2560 จะมีจำนวนคนจีนมาเที่ยวไทย 9.5 ล้านคน ขณะเดียวกัน ชาวอาเซียนที่เดินทางไปเที่ยวจีน ก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ปี 2559 นักท่องเที่ยวจากประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ฯลฯ ที่เดินทางไปเที่ยวจีน มีจำนวนมากกว่าล้านคน มณฑลกวางสี ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานไชน่า-อาเซียนเอ็กซ์โป มีนักท่องเที่ยวเข้ามากว่า 3 ล้านคนต่อปี และจำนวนเกือบครึ่งมาจากประเทศสมาชิกอาเซียน
งานไชน่า-อาเซียนเอ็กซ์โป ยังผลักดันระดับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยวให้สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่มาจากการพัฒนาความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย งานไชน่า-อาเซียนเอ็กซ์โป ได้จัดงานฟอรั่มและกิจกรรมสำหรับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทั้งระดับทวิภาคและพหุภาคี
“การท่องเที่ยว เป็นเสมือนสะพานเผยแพร่อารยธรรม แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และกระชับมิตรภาพ” หัวข้อ “ร่วมสร้างเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 การท่องเที่ยวช่วยผลักดันการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค” ในงานไชน่า-อาเซียนเอ็กซ์โปครั้งที่ 14 เป็นการสื่อถึงความร่วมมือและแลกเปลี่ยนระหว่างจีน-อาเซียน ได้พัฒนาไปอีกขั้นได้ดีที่สุด