ระหว่างวันที่ 14-16 ตุลาคม ปี 2560 คณะของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย และนายพรชัย ตระกูลวรานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดินทางเยือนมณฑลกวางสี ระหว่างเยือน ได้ไปศึกษาดูงานที่นิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) โดยมีนายหลาว หนิงจวิน รองนายกเทศมนตรีฉงจั่วร่วมเดินทางด้วย นอกจากนี้ คณะดูงานยังได้ไปศึกษาดูงานที่ Guangxi Jin Wutong International Fruit Industry Group Co., Ltd,Zhonggang Wood Industry Company และ Chongzuo East Asia Sugar Industry Co., Ltd


ช่วงบ่ายของวันที่ 16 ตุลาคม นายซุน ต้ากวง นายกเทศมนตรีเมืองฉงจั่ว ได้พบปะคณะดูงานและเป็นประธานการสัมมนาที่หอประชุมประชาชนเมือง ภายในงาน นายซุน ต้ากวง ได้กล่าวแนะนำสภาพทั่วไป จุดแข็งด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และทรัพยากร เศรษฐกิจท่าเรือ และการสร้างเส้นทางโลจิสติกส์ โดยนายซุน ต้ากวงกล่าวว่า การสร้างนิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) สอดรับกับแนวโน้มการพัฒนาด้านการค้าระหว่างไทย-จีนสองประเทศ เป็นไฮไลต์ใหม่สำหรับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างจีน-อาเซียน มีประสิทธิภาพในการผลักดันขนาด ขอบเขต และระดับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ-การค้าของสองประเทศอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายของไทยทั้งภาครัฐและธุรกิจ มุ่งมั่นที่จะเป็นแพลตฟอร์มสำคัญของความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-สิงคโปร์ ที่ไทย-จีนสองประเทศร่วมกันผลักดัน จนบรรลุเป้าหมายการเป็นเขตสาธิตความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างประเทศ ที่จีนกับประเทศสมาชิกอาเซียนเชื่อมโยงกัน เอื้อประโยชน์แก่กัน และพัฒนาร่วมกัน
ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา นิคมอุตสาหกรรมระยอง (ไทย-จีน) กลายเป็นศูนย์กลางการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม (Industrial Clusters) ฐานการผลิตและส่งออกของอุตสาหกรรมดั้งเดิมและมีจุดแข็งของจีนในประเทศไทย และยังเป็นแพลตฟอร์มสำคัญของความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างไทย-จีนสองประเทศ นิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) และนิคมอุตสาหกรรมระยอง (ไทย-จีน) รวมตัวกันเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมพี่น้อง ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ กล่าวว่า ข้อได้เปรียบทางที่ตั้งภูมิศาสตร์ของเมืองฉงจั่วนั้นชัดเจนมาก นำความสะดวกมาสู่นักลงทุนชาวไทย ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางของเขตการค้าเสรีอาเซียน หลายปีมานี้ มีบทบาทสำคัญต่อการค้าอาเซียน สองฝ่ายควรเน้นเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าดังต่อไปนี้
1. ความร่วมมือด้านการค้าแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอย่าง เช่นผลไม้ ประเทศไทย เป็น 1 ในประเทศที่ผลิตผลไม้เขตร้อนมากที่สุดในโลก ทางจีนสามารถนำเข้าผลไม้เขตร้อนจากไทยเพื่อนำไปแปรรูป และชักชวนธุรกิจไทยเข้ามาลงทุนเพื่อทำการผลิต ใช้การค้าแปรรูปเป็นสะพานเชื่อมโยง สร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ที่มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เอื้อประโยชน์ทางด้านการค้า และต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ แบบ ‘วินวิน’
2. ความร่วมมือด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเชิงลึก ฝ่ายไทยจัดสรรวัตถุดิบยาง ส่วนทางฉงจั่วให้การสนับสนุนด้านแรงงาน สถานที่ เงินทุน และการจำหน่าย จัดตั้งโรงงานสาขาภายในนิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) จากการดึงดูดธุรกิจผลิตภัณฑ์ยางที่มีชื่อเสียง ใช้ประโยชน์จากยางของประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฯลฯ และความต้องการของตลาดผลิตภัณฑ์ยางที่กว้างขวางของจีนอย่างเต็มที่
มีผู้รับผิดชอบจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาดูงาน และการสัมนา เช่น คณะกรรมการบริหารนิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) คณะกรรมการท่าเรือพาณิชย์เมืองฉงจั่ว สำนักงานส่งเสริมการลงทุนเมืองฉงจั่ว และสำนักงานการต่างประเทศเมืองฉงจั่ว เป็นต้น