นิคมฯ ฉงจั่ว (ไทย-จีน) พื้นที่ลงทุนใหม่ของนักธุรกิจไต้หวัน

เมืองฉงจั่ว เมืองแห่งใหม่ของมณฑลกวางสี ประเทศจีน เป็นเมืองเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ “One Belt One Road” ได้รับสมญานามว่าเป็น “เมืองแห่งน้ำตาล” “เมืองแห่งแมงกานีส” และ “เมืองแห่งการค้าชายแดน”

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2560 สำนักงานกิจการไต้หวัน คณะกรรมธิการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน และกระทรวงพาณิชย์ ได้เห็นชอบการจัดตั้งเขตความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างช่องแคบไต้หวัน ณ มณฑลกวางสี เพื่อรองรับธุรกิจไต้หวัน ซึ่งเป็นโมเดล “One Zone Three Park” ซึ่ง Three Park ประกอบด้วย นิคมฉงจั่ว นิคมชินโจว และนิคมฝางเฉิงก่าง โดยนิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) เป็นโซนศูนย์กลาง ภายในช่วงเวลาเพียง 3 เดือน คณะดูงานของนักธุรกิจชาวไต้หวันทยอยกันมาอย่างไม่ขาดสาย ทำให้นิคมฯฉงจั่วพัฒนาและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เมืองฉงจั่วอาศัยศักยภาพที่แข็งแกร่งของตนเอง จนได้รับความนิยมจากนักธุรกิจชาวไต้หวันในด้านต่างๆ เช่น ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การคมนาคม ทรัพยากรแรงงาน ทรัพยากรที่ดิน นโยบายสิทธิพิเศษ เป็นต้น

เมืองฉงจั่ว เป็นประตูทางบกสู่อาเซียน ผู้คนมักกล่าวถึงเมืองฉงจั่วว่า “เปิดประตูก็เป็นเวียดนาม เดินอีก 2 ก้าวก็เป็นอาเซียน” นิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) ที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองฉงจั่ว มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่น สามารถเชื่อมโยงกับตลาดที่มีศักยภาพในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ แรงงานราคาถูก รวมถึงพื้นที่โครงการคุณภาพดีและราคาต่ำของเมืองฉงจั่ว กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักธุรกิจชาวไต้หวันให้เข้ามาลงทุน ธุรกิจไต้หวัน เป็นธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลัก ฉงจั่วมีแรงงานเหลือเฟือ ต้นทุนแรงงานต่ำกว่าทางตะวันออกของจีน การที่ธุรกิจไต้หวันซื้อที่ดินสร้างโรงงาน และว่าจ้างแรงงานในฉงจั่ว ไม่เพียงช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ยังช่วยสร้างงานให้กับท้องถิ่นอีกด้วย กล่าวได้ว่าได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ธุรกิจไต้หวันในนิคมฯ จะได้รับนโยบายสิทธิพิเศษหลากหลาย จุดแข็งข้อนี้ เป็นตัวแปรสำคัญที่นิคมฯ ใช้ดึงดูดนักธุรกิจไต้หวัน นิคมฉงจั่ว เป็น 1 ใน นิคมฯ สำหรับแผนฟื้นฟูเขตปฏิวัติเก่าลุ่มแม่น้ำจั่วเจียง-โย่วเจียง แถบเศรษฐกิจแม่น้ำจูเจียง-ซีเจียง เขตเศรษฐกิจอ่าวตังเกี๋ย เป็นต้น และยังเป็นฐานสาธิตความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างประเทศที่ได้รับการเห็นชอบจากสำนักนายกรัฐมนตรีจีนเพื่อดึงดูดให้นักธุรกิจไต้หวันมาลงทุนที่นิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) ภายใต้การนำของรัฐบาลฉงจั่ว ทางนิคมฯ ได้ทุ่มเทความพยายามในหลายๆ ด้าน

ปัจจุบันนิคมฯ ฉงจั่ว ซึ่งมีฐานะเป็นโซนศูนย์กลางของเขตความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างช่องแคบไต้หวัน เริ่มสร้างโซนต่างๆ แล้ว เช่น โซนแปรรูปอาหาร โซนอุตสาหกรรมไม้ และอุตสาหกรรมการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เป็นต้น และดึงดูดธุรกิจไต้หวันมากมายให้เข้ามาลงทุน นิคมอุตสาหกรรมฉงจั่ว (ไทย-จีน) ค่อยๆ กลายเป็นพื้นที่ลงทุนใหม่ของนักธุรกิจชาวไต้หวัน และโซนศูนย์กลางแห่งนี้ ก็กำลังกลายเป็นแบบฉบับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ-การค้าระหว่างจีนและไต้หวัน

Your email address will not be published. Required fields are marked *