ผนึกกำลัง…ผลักดันนิคมฯ ฉงจั่วสู่ย่างก้าวใหม่

เรียนรู้เพื่อก้าวสู่ความเป็นหนึ่ง เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2562 หลิว โหย่วหมิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำเมืองฉงจั่ว และประธานคณะกรรมการสามัญประจำสภาประชาชนเมืองฉงจั่ว เหอ เหลียงจวิน นายกเทศมนตรีเมืองฉงจั่ว พร้อมผู้นำจาก 4 หน่วย และผู้รับผิดชอบหลักจากทั้งคณะกรรมการพรรค รัฐบาล และหน่วยงานขึ้นตรงกับเมืองฉงจั่ว เดินทางไปนิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย (ฉงจั่ว) เพื่อเยี่ยมชมธุรกิจและโครงการต่างๆ รวมทั้งสรุปผลสำเร็จของการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในปี 2561 พร้อมวางแผนแนวทางใหม่เพื่อการพัฒนาและผลักดันนิคมฯ ให้เข้าสู่ย่างก้าวใหม่ในปี 2562

ปี 2561 นิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย (ฉงจั่ว) มุ่งมั่นปฏิบัติตามเป้าหมายของคณะกรรมการเมืองฉงจั่วและรัฐบาลท้องถิ่นเมืองฉงจั่ว ในการดำเนิน 2 โครงการ (พัฒนาเศรษฐกิจท่าเรือ และพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม) และพัฒนา 4 เรื่อง (ปฏิรูปยกระดับอุตสาหกรรม บรรเทาความยากจนครอบคลุมทั่วพื้นที่ชนบท พัฒนาความเป็นเมืองรูปแบบใหม่ และแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน) รวมถึง “ยกระดับนิคมอุตสาหกรรมใน 8 เดือน” ได้เป็นผลสำเร็จ พร้อมส่งเสริมจิตวิญญาณ “มานะบากบั่น สร้างสรรค์สิ่งใหม่” ยึดมั่นในเจตนารมณ์ พร้อมตั้งรับกับทุกอุปสรรค ฝ่าคลื่นที่ถาโถมเข้ามา และจารึกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่การพัฒนาของนิคมฯ ต่อไป

ปี 2561 ทางนิคมฯ เวนคืนที่ดินทั้งสิ้น 11,080 ไร่จีน ชำระเงินไปแล้ว 8,800 ไร่จีน มีบริษัทเซ็นสัญญาเข้าร่วมโครงการ 31 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 22 แห่ง สร้างเสร็จสมบูรณ์และเริ่มทำการผลิตแล้ว 17 แห่ง ปี 2561 มีมูลค่าการผลิตภาคอุตสาหกรรม 1.23 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 28% สำหรับมูลค่าการผลิตของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีรายได้ 20 ล้านหยวนต่อปีขึ้นไป อยู่ที่ 1.16 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้น 19% ส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีรายได้ 20 ล้านหยวนต่อปีขึ้นไป อยู่ที่ 4,100 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 20% ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 6,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 50% ลงทุนภาคอุตสาหกรรม 3,020 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 100% ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 980 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 95.6% รายได้จากการจัดเก็บภาษีให้รัฐ 201 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 34% ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีรายได้ 20 ล้านหยวนต่อปีขึ้นไป มีรายใหม่เพิ่มขึ้น 11 ราย ก่อสร้างโรงงานมาตรฐาน 330,500 ตร.ม. ตัวเลขสถิติต่างๆ มาจากการทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ของนิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย (ฉงจั่ว) ข่าวดีทั้งหลาย ล้วนเป็นผลลัพธ์ของการมุ่งมั่นไม่ย่อท้อของเจ้าหน้าที่ในนิคมฯ ทุกคน

ณ ที่ตั้งโครงการแร่โลหะหายากในอุตสาหกรรมจีน-ไทย (ฉงจั่ว) ผู้รับผิดชอบโครงการแนะนำให้คณะศึกษาดูงานทราบว่า ผลิตภัณฑ์โลหะผสมชิ้นเล็กๆนี้มีมูลค่ากว่า 10,000 หยวน ซึ่งขณะนี้มีไม่เพียงพอต่อความต้องการและสินค้าได้ขาดตลาดไปเรียบร้อยแล้ว จากความพยายามอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมแร่โลหะหายากของฉงจั่วมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นและปรากฏผลสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ โครงการคัดแยกแร่โลหะหายากเฟส 2 ของบริษัท Chinalco Rare Earth คาดว่าช่วงปลายปี 2562 จะมีมูลค่าการผลิตมากกว่า 1 พันล้านหยวน และโครงการผลิตแร่โลหะหายากปีละ 5,000 ตันของบริษัท Guangxi Guochen Rare Earth Metal Materials Co., Ltd. คาดว่าช่วงปลายปี 2562 จะมีมูลค่าถึง 1 พันล้านหยวนด้วยเช่นกัน ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการผลิตในปี 2020 จะมีมูลค่าสูงถึง 2.5 พันล้านหยวน

ขณะเยี่ยมชมโครงการโรงงานน้ำตาลแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนครบวงจรของบริษัท กว่างซี หนานหนิง อีสต์ เอเชีย ชูการ์ กรุ๊ป (EAS) ในเครือกลุ่มมิตรผล นายเหอ ซ่าวเหว่ย ประธานกรรมการบริหารนิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย (ฉงจั่ว) กล่าวแนะนำว่า “โครงการนี้ใช้อุปกรณ์เครื่องจักรจากทั้งในและต่างประเทศ ที่มีความทันสมัย ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานต่ำ สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีปริมาณการผลิตน้ำตาล 20,000 ตันต่อวัน ปัจจุบันมีกำลังการหีบอ้อยสูงที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล” โดยโครงการเฟสแรกได้เริ่มดำเนินการผลิตแล้ว เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561 นอกจากนี้ ยังเป็นโครงการมาตรฐานสูงแห่งแรกในเมืองฉงจั่วที่ผสมผสานการผลิต การเยี่ยมชม และการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งเดียว มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาเชิงบวกของอุตสาหกรรมน้ำตาลกว่างซี ทั้งในทิศทางของข้อมูลสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีเครื่องจักร การปกป้องสิ่งแวดล้อม การผลิตที่สะอาด และการอนุรักษ์พลังงาน การยกระดับอุตสาหกรรมน้ำตาล กลายเป็นจุดสนใจของคณะผู้เยี่ยมชม

ในปี 2561 นิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย (ฉงจั่ว) วางโครงการสำคัญเป็นรากฐานหนุนนำในการเร่งยกระดับอุตสาหกรรมน้ำตาล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเสาหลักดั้งเดิม ริเริ่มบ่มเพาะอุตสาหกรรมแร่โลหะหายาก จนมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นและปรากฏผลสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานของนิคมฯ อาทิ หมู่บ้านคนงาน โครงข่ายถนน โรงผลิตน้ำเพื่ออุตสาหกรรม ศูนย์ปรับปรุงพื้นผิว (Surface Treatment) โรงบำบัดน้ำเสีย สถานีกระจายไฟฟ้า ท่าเรือไล่ทวน คลังสินค้าทัณฑ์บน คลังน้ำตาล โลจิสติกส์ห่วงโซ่เย็น (Cold Chain Logistics) ล้วนได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น ขีดความสามารถในการรองรับของนิคมฯ ได้พัฒนาก้าวไปอีกขั้น ผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานได้เล็งเห็นความสำเร็จอันน่าทึ่งในการปฏิรูปและยกระดับของนิคมฯ แสดงเจตจำนงพร้อมเสริมสร้างความร่วมมือแลกเปลี่ยนทำงานอย่างใกล้ชิด ยกระดับการพัฒนาเมืองด้วยอุตสาหกรรมอย่างรอบด้าน พร้อมผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองฉงจั่วให้เข้าสู่ย่างก้าวใหม่

Your email address will not be published. Required fields are marked *