เมืองฉงจั่ว มณฑลกว่างซี ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพรมแดนติดกับเวียดนาม เป็นเมืองข้อต่อสำคัญของยุทธศาสตร์ “One Belt One Road” ทั้งยังเป็นบานหน้าต่างสำหรับความร่วมมือแบบเปิดกว้างสู่อาเซียน ส่วนนิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย ฉงจั่ว เป็นเขตนิคมฯ ที่มณฑลกว่างซีให้ความสำคัญต่อการพัฒนา เป็นเขตนิคมฯ ที่จัดตั้งเพื่อเข้าร่วมยุทธศาสตร์ “One Belt One Road” และกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ-การค้าระหว่างจีน-อาเซียน รวมทั้งเป็นโซนความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างประเทศของเขตนำร่องการพัฒนาและเปิดสู่ภายนอกของเมืองผิงเสียง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 100 ตารางกิโลเมตร
ทำเลโดดเด่น คมนาคมดีเลิศ ตลาดกว้างขวาง
นิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย ฉงจั่ว ตั้งอยู่ทางตะวันออกและทางเหนือของเมืองฉงจั่ว มีจุดแข็งด้านทำเลที่ตั้ง ทั้งอยู่ตามแนวชายแดน ใกล้ทะเล ใกล้เมืองเอก และเชื่อมต่ออาเซียน มีเส้นทางรถไฟเซียงกุ้ย (หูหนาน-กว่างซี) แล่นผ่าน ทางด่วนหนานหนิง-ด่านโหย่วอี้กวนเชื่อมโยงกับทางหลวงหมายเลข 1 ของเวียดนาม อยู่ห่างจากนครหนานหนิงเพียง 70 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม 240 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดกรุงเทพฯ ประเทศไทย 1,700 กิโลเมตร ทางด่วนฉงจั่ว-ชินโจวมุ่งตรงไปถึงท่าเรืออ่าวเป่ยปู้ (อ่าวตังเกี๋ย) ซึ่งมีระยะห่างเพียง 130 กิโลเมตร แม่น้ำจั่วเจียงจะมีการขุดลอกเพิ่มเติม โดยมีระยะห่างจากฮ่องกง 800 กิโลเมตร เส้นทางรถไฟสายหนานหนิง-ฉงจั่วเริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว รูปแบบการคมนาคมที่ติดกับชายแดน ทะเล เส้นทางบิน และเส้นทางทะเลค่อยๆก่อตัวขึ้นแล้ว ด้วยจุดแข็งด้านทำเลที่ตั้งของเมืองฉงจั่ว บวกกับโครงข่ายคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้สินค้าในนิคมฯ กระจายสู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า และอาเซียนได้โดยตรง ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากปัจจัยด้านวัตถุดิบและตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนการผลิต ขยายตลาด ตลอดจนสร้างธุรกิจให้ยิ่งใหญ่และเข้มแข็ง
จุดแข็งด้านทรัพยากร
นอกจากเมืองฉงจั่วจะมีโอกาสการพัฒนามานานแล้ว ยังเป็นเมืองข้อต่อที่สำคัญสุดบนเส้นทางการค้าทางบกจีน-อาเซียน และเป็นเมืองการค้าชายแดนอันดับหนึ่งของจีน มีท่าเรือประเภทหนึ่ง จำนวน 5 แห่ง ท่าเรือประเภทสอง จำนวน 2 แห่ง ตลาดการค้าชายแดน จำนวน 14 แห่ง ในปี 2561 ฉงจั่วมีมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก รวมทั้งสิ้น 147,569 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 6.4% ปริมาณรวมเป็นอันดับหนึ่งของกว่างซีต่อเนื่อง 10 ปีซ้อน มีพื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 3.18 ไร่จีน ซึ่งเป็น 2 เท่าโดยเฉลี่ยของกว่างซี มีผืนป่าครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 55% มีปริมาณการตัดไม้มากกว่า 20,000 m³ ต่อปี เป็นฐานการผลิตน้ำตาลอ้อยที่สำคัญของประเทศ คิดเป็น 1/3 ของทั้งมณฑล และ 1/5 ของทั้งประเทศ มีการตัดอ้อยสดเข้าหีบสูงสุดในประเทศ 15 ฤดูการผลิตติดต่อกัน มีปริมาณแร่แมงกานีส 165 ล้านตันสูงสุดในประเทศ ทรัพยากรการท่องเที่ยวหลากหลาย มีแหล่งท่องเที่ยวเลื่องชื่อต่างๆ เช่น ด่านโหย่วอี้กวน น้ำตกเต๋อเทียน ภาพเขียนที่ผาลาย ฯลฯ เป็นโซนศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชายแดนกว่างซี ในปี 2561 เมืองฉงจั่วติดอันดับเมืองแห่งมนต์เสน่ห์ ประจำปี 2561 ช่วยสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
ในปี 2561 เมืองฉงจั่วมีมูลค่าการผลิตในภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลอยู่ที่ 4.333 หมื่นล้านหยวน มูลค่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมแมงกานีส 1.335 หมื่นล้านหยวน มูลค่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมไม้ 1.26 หมื่นล้านหยวน มูลค่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมแปรรูปท่าเรือ 1.032 หมื่นล้านหยวน มูลค่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมเคมี 1.031 หมื่นล้านหยวน โรงงานระดับโลกต่างเลือกเข้ามาลงทุนที่นี่ ทั้งยังบ่มเพาะธุรกิจแนวหน้าต่างๆ เช่น น้ำตาลมิตรผล, COFCO, Angel Yeast, Lesaffre, CITIC Dameng, Guangxi Xin-Manganese Group Co., Ltd., Prince, CHINALCO, Nanguoทองแดง ซึ่งมีรากฐานและศักยภาพในการเสริมสร้างให้อุตสาหกรรมมีความยิ่งใหญ่และเข้มแข็ง
อุตสาหกรรมที่นิคมฯ มุ่งเน้นพัฒนา
- อุตสาหกรรมอาหารอาเซียน กำหนดให้สินค้าเกษตรที่นำเข้าผ่านท่าเรือฉงจั่วเป็นรากฐานในการสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอาหารภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเภทถั่ว ผลไม้แห้ง และผลไม้สด เป็นต้น
- อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ กำหนดให้ทรัพยากรแร่แมงกานีสในท้องถิ่น รวมถึงทรัพยากร Eramet Comilog และ CITIC Dameng ในนิคมฯ เป็นรากฐานในการสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ชาร์จไฟ รถพลังงานไฟฟ้า และอากาศยานไร้คนขับ หรือ “โดรน” (Drone)
- อุตสาหกรรมวัสดุรูปแบบใหม่ กำหนดให้ทรัพยากรแร่หายากในท้องถิ่นและอะลูมิเนียม รวมถึงธุรกิจ CHINALCO และNanguoทองแดง เป็นรากฐานในการสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรม memory materials และโลหะผสม
- อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลอ้อยแบบหมุนเวียน กำหนดให้วัสดุเหลือใช้ที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ จากนั้นใช้เทคโนโลยีชีวภาพแปรสภาพเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าเกษตร อาหารและยา
- อุตสาหกรรมเบาครบวงจร มีเครื่องใช้ในครัวเรือนเป็นหลัก โดยสร้างฐานนำร่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากป่าที่ใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างฐานส่งออกผลิตภัณฑ์จากป่าอาเซียนที่มีมูลค่าการผลิตสูงถึง 3 หมื่นล้าน
- อุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยวและการพักอาศัยสไตล์ไทย นำวัฒนธรรมไทยที่มีมนต์เสน่ห์เฉพาะตัวมาหลอมรวมเข้ากับการจัดสร้างนิคมฯ รับเอาองค์ประกอบต่างๆ ที่มีเอกลักษณ์ของไทย ทั้งวัฒนธรรมประเพณี อาหาร และการบำรุงสุขภาพ เพื่อสร้างศูนย์บริการธุรกิจ โดยใช้ประเพณีวัฒนธรรมไทยเป็นสื่อกลางในการให้บริการครบรอบด้านสำหรับการแลกเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมระหว่างจีน-อาเซียน มุ่งมั่นทำให้นิคมฯ กลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งใหม่ที่น่าลงทุน น่าอยู่ และน่าเที่ยว
เราจะยึดมั่นในแนวคิด “ใกล้ชิด ให้ความสำคัญ ทะนุถนอม ปกป้อง” เหมือนเช่นเคย ไขว่คว้าโอกาสการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยืนหยัดด้วยจุดแข็งของตนเอง ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ เพิ่มการชักชวนนักธุรกิจให้เข้ามาร่วมลงทุนมากยิ่งขึ้น